เชียงใหม่ งานระบบLAN CAT6 60จุด ติดตั้งwifi ติดตั้ง 30ตัว ตู้RACK9U 8ตู้ เดินสายเมนLAN CAT6 Outdoor ระหว่างตึก ติดตั้งเดินLINK สายไฟเบอร์ออฟติก สายfiber optic ภายนอก 300เมตร งานแบบสวยงาม สะอาด พิเศษ premium site
สายแลน CAT5E CAT6 และ CAT7 แตกต่างกันอย่างไร?
ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา เรามาทำความรู้จักกับประเภทของสายแลนกันก่อนค่ะ โดยสายแลนแต่ละรุ่น สามารถจำแนกออกได้ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. แบ่งตามลักษณะการหุ้มฉนวน ทั้งแบบที่มีแต่ฉนวนอย่างเดียวไม่มีฟอยล์ หรือมีฟอยล์นอก หรือมีฟอยล์หุ้มทั้งหมด
2. แบ่งตามการใช้งานแบบภายนอกอาคาร (Outdoor) และภายในอาคาร (Indoor) โดยที่สายแบบ Outdoor จะมีปลอกหุ้มที่แข็งแรงกว่าและหนากว่า
สายแบบ Indoor เพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศภายนอกอาคารได้ดีมากขึ้น
3. แบ่งตามการเข้าหัวของสาย LAN หรือตามลักษณะการใช้งาน เราควรเลือกสายนำสัญญาณให้เหมาะสมและรองรับกับอุปกรณ์เชื่อมต่อ
เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพมากที่สุด
4. แบ่งตามความถี่ที่รองรับได้ ดังนี้
4.1) สายแลน CAT5 เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วต่ำที่สุด ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 Mbps สายชนิดนี้จึงไม่เป็นที่นิยมใช้งานกันซักเท่าไร
เนื่องจากความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ต่ำ
4.2) สายแลน CAT5E เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ แต่สูงกว่าแบบแรก ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1 Gpbs
4.3) สายแลน CAT6 เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gpbs BANWIDTH อยู่ที่ 250MHz หรือบางยี่ห้อมีจำหน่ายสูงถึง 600MHz
4.4) สายแลน CAT7 เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วสูงสุดกว่าสามประเภทแรก ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gpbs BANWIDTH อยู่ที่ 600MHz
สายแลน CAT5E
CAT5E หรือ Category5E เป็นสายที่ไม่มีชนวนป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก สายชนิดนี้มีจำนวน 4 คู่สาย 8 เส้น ซึ่งมีการผลิตแกนทองแดง
แบบแกนเดี่ยว (Solid conductor) เหมาะกับการติดตั้งแบบทั่วไป และแกนทองแดงแบบฝอย (stranded conductor) เหมาะกับสายเชื่อมต่อภายในตู้สื่อสาร (Patch cord) ซึ่งสามารถบิด โค้ง งอ ได้มากกว่าสายชนิดแกนเดี่ยว(Solid) สายชนิดนี้จะมี Bandwidth สูงสุด 350MHz ในบางยี่ห้อมาตรฐานที่ 100MHz
และความเร็วในการส่งสัญญาณที่ 100 – 1000Mbps หรือ Gigabit
สายแลน CAT6
CAT6 หรือ Category6 เป็นสายนำสัญญาณแบบเคเบิ้ลทองแดงสี่คู่ รองรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายอย่าง Switch หรือ Hub สามารถรองรับความเร็วในการส่งได้สูงสุดถึง 10 Gbps จะมี Bandwidth สูงสุดที่ 600MHz หรือมาตรฐานอยู่ที่ 250MHz ส่วนความเร็วสูงสุดในการส่งสัญญาณที่ Full speed 1000Mbps หรือ Full Gigabit ในระยะแนะนำความเสถียรไม่เกิน 100 เมตร (ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่และสัญญาณรบกวน) ผ่านอปุกรณ์เชื่อมต่อมาตรฐาน RJ-45
โดยประเภทของสายแลน CAT6 จะมีทั้งแบบ CMR, CM, และ LSZH ซึ่งแตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ รูปแบบการติดตั้ง และอัตราการลามไฟของสายสัญญาณที่ติดตั้งภายในอาคารสำนักงานด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัย (ตามมาตรฐาน UL)
– สาย CM (Communication Metallic) จะสามารถติดตั้งได้ภายในชั้น หรือติดตั้งราบไปกับพื้น ห้ามติดตั้งเปลือยในแนวอื่นเด็ดขาด
– สาย CMR (Communication Metallic Riser) จะสามารถติดตั้งได้ทั้งแนวราบ และแนวดิ่งบริเวณช่องชาร์ป (จุดรวมของสายสัญญาณที่เชื่อมต่อระหว่างชั้น) ถูกออกแบบด้วยวัสดุที่ทนทาน และป้องกันการลามของเปลวไฟได้ดีกว่าแบบ CM จึงมีราคาสูงกว่า แต่คุ้มค่าในการนำไปใช้งานในระยะยาว
– สาย LSZH จะเพิ่มคุณสมบัติด้านความปลอดภัย กรณีเกิดเพลิงไหม้ สายแบบ LSZH จะมีคุณสมบัติพิเศษไม่ลามไฟ และมีควันน้อยกว่าปกติ เพื่อป้องกันอาการสำลักควันที่อาจเป็นสาเหตุทำให้คนเสียชีวิตได้
สายแลน CAT7
CAT7 หรือ Category7 เป็นสายนำสัญญาณแบบ Aluminum Foil หุ้มที่คู่สายทุกคู่ เพื่อการป้องกันสัญญาณรบกวน ด้วย Screen shielded twisted pair (SSTP) หรือการเดินสายแบบหุ้มด้วยฟอยซ์คู่สายเกลียว (SFTP) รองรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย สามารถรองรับความเร็วในการส่งได้สูงสุดถึง 10 Gbps ความถี่สูงสุดที่ 600 MHz ในระยะแนะนำความเสถียร ไม่เกิน 100 เมตร
ส่วนทุกท่านจะเลือกใช้สาย Cat5E หรือ Cat6 หรือ CAT7 นั้น ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของแต่ละหน่วยงาน และประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อใช้สายที่แพงขึ้นค่ะ
แต่ปัจจุบันที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็คือ สาย CAT6 เนื่องจากเหมาะสมกับการใช้งานตามมาตรฐาน และหลายองค์กรในประเทศไทยยังใช้ Switch แบบที่มีความเร็ว
อยู่ที่ 10/100/1000 Mbps สายชนิดนี้จึงเหมาะสมที่สุดกับการใช้งาน ในราคาที่คุ้มค่าต่อการลงทุนนั่นเองค่ะ